ปวดเข่าด้านนอกขณะวิ่ง…“คืออะไร”
Date
ปวดเข่าด้านนอกขณะวิ่ง...“คืออะไร”
อาการบาดเจ็บที่นักวิ่งส่วนใหญ่มักเป็น แต่หากรู้ถึงสาเหตุ และวิธีการป้องกัน จะทำให้ไม่เกิดการบาดเจ็บดังกล่าวช่วยได้เยอะ!
ปวดเข่าด้านนอกขณะวิ่ง…“คืออะไร”
เมื่อนักวิ่งยิ่งวิ่งระยะไกลยิ่งรู้สึกปวดมากขึ้น… ปวดเข่าด้านนอก เวลาวิ่งคืออาการบาดเจ็บ ITBS โรคที่พบบ่อยในนักวิ่งทั้งหน้าใหม่ และหน้าเก่า ITBS (Iliotibial band) คือ แถบเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก
จุดเกาะต้นของแถบเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก
(Tensor fascia latae muscle) ซึ่งเกาะ ที่บริเวณกระดูกสะโพก (Ilium) ไปจุดเกาะปลายที่ปุ่มกระดูกด้านนอกของกระดูกต้นขา (Lateral femoral condyle) และปุ่มกระดูกด้านนอกของ กระดูกขาท่อนล่าง (Gerdy’s Tubercle) แถบ เอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอกนี้ ไม่ได้มาจากกล้ามเนื้อ (Tensor fascia latae) เพียงอย่างเดียว ยังมี บางส่วนของกล้ามเนื้อก้น (Gluteus maximus muscle) มาเกาะร่วมอีกด้วย
สาเหตุของการเกิดโรค:
สาเหตุของการเกิด Iliotibial band friction syndrome เกิดจากการเสียดสีของแถบ เอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านข้างกับปุ่มกระดูก (Lateral femoral condyle) จากการงอและการเหยียดเข่าซ้ำๆอย่างต่อเนื่องซึ่งพบได้บ่อยในการวิ่งและการปั่นจักรยานปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอาการนี้ ได้แก่ การมีแถบเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอกที่ตึงยึดรั้ง นอกจากนี้ การมีกล้ามเนื้อรยางค์ขาที่ไม่แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อกางสะโพก (Hip abductors muscle) ยังเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดโรคนี้อีกด้วย
อาการ:
นักกีฬาจะมีอาการเจ็บบริเวณเข่าด้านนอก อาการเจ็บจะเป็นมากยิ่งขึ้น เมื่อก้าวยาว (stride)เมื่อวิ่งลงเนิน (downhill) และอาการเจ็บจะเพิ่มขึ้น เมื่อวิ่งเป็นระยะเวลานาน
การรักษา และการดูแลตัวเองเบื้องต้น:
ระยะแรกของการบาดเจ็บ จุดมุ่งหมายสำคัญ คือ ลดอาการปวดที่เกิดขึ้น โดยการประคบเย็นบริเวณ เข่าด้านนอก 15-20 นาที ร่วมกับพักการใช้งาน โดยสามารถเลือกใช้ยาแก้อักเสบชนิดรับประทานหรือชนิดทาร่วมด้วยได้ เมื่ออาการปวดบรรเทาลง จึงยืดกล้ามเนื้อบริเวณที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
แต่หากมีอาการเรื้อรังหรือปวดเจ็บมากขึ้นให้รีบปรึกษานักกายภาพบำบัดทันที
ps. ทุกท่านที่มาใช้บริการกับเราจะมั่นใจได้ว่า ทางคลินิกเราเตรียมพร้อมรับมือโควิด-19 และให้บริการทุกท่านอย่างเต็มที่ครับ
สอบถามข้อมูลกับนักกายภาพบำบัดได้ที่
Google : http://g.page/raksaphysio
Line : @RaksaPhysio หรือ https://page.line.me/raksaphysio
Tel. : 062-705-1500
E-mail: info@Raksaphysio.com
#physiotherapy #wellness #OfficeSyndrome #sportstherapy #sportsmassage #Stretching #ปวดคอ #ปวดหลัง #ปวดข้อมือ
Credit: คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล.