...

กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบจนหนีบเส้นประสาท ต่างกับหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอย่างไร

Date 2 โรคนี้มีอาการคล้ายกันมาก คือ “ปวดก้น ร้าวลงขาและขาชา” หลายคนคงคิดถึงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทก่อนเลย แต่จริงๆ แล้ว คุณอาจจะเป็นแค่กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบจนหนีบเส้นประสาท 🔸 มาดูกันว่า 2 โรคนี้ต่างกันอย่างไร ⭐️ กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบจนหนีบเส้นประสาท🔸 จุดกดเจ็บอยู่ที่ก้น ไม่มีอาการปวดหลัง🔸 ปวดมากขึ้นเมื่อนั่งนานๆ🔸 จะดีขึ้นเมื่อลุกขึ้นยืน🔸 ถ้าไอหรือจาม จะไม่รู้สึกปวด🔸 ถ้าปวดมาก ท่าเดินจะเหมือนกะเผลก🔸 ก้มหรือแอ่นหลัง จะไม่ปวด.⭐️ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท🔸 จุดกดเจ็บอยู่ที่กระดูกสันหลัง มีอาการปวดหลัง🔸 จะรู้สึกสบายขึ้นเมื่อได้นั่ง 🔸 ถ้ายืนจะปวดยิ่งขึ้น🔸 ไอ จาม ความสะเทือนจะยิ่งทำให้ปวดมากขึ้น🔸 ถ้าปวดมาก ท่าเดินตัวแข็งเหมือนหุ่นยนต์เพราะกล้ามเนื้อหลังตึงเกร็งปวด🔸 ถ้าแอ่นหลังจะปวดมากขึ้น.ปรึกษานักกายภาพบำบัดได้ฟรี ติดต่อ📌 Line : @RaksaPhysio ☎️ Tel. : 062-705-1500.#raksaphysio #physio #wellness #OfficeSyndrome #กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ #ปวดก้น #หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท #กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบจนหนีบเส้นประสาท #ออฟฟิศซินโดรม #รักษาฟิสิโอ […]

วิธีป้องกัน “ตะคริว” … รู้ก่อน ป้องกันได้

Date 🛡 วิธีป้องกัน “ตะคริว” … รู้ก่อน ป้องกันได้ • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30-60 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน เพราะตะคริวมักเกิดในคนที่ร่างกายอ่อนแอ หรือขาดการออกกำลังกาย • อย่าลืม warm up และ cool down ก่อน-หลังการออกกำลังกาย หรือในวันที่ใช้ร่างกายทำกิจกรรมหนักๆ • ฝึกยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ ให้เป็นกิจวัตร เช่น กระดกเท้าขึ้นลง หรือเอามือแตะปลายเท้าขณะเหยียดขา หรือบริหารด้วยท่ายืดกล้ามเนื้อน่อง • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วหรือ 2 ลิตร • ถ้าออกกำลังกายหนักเสียเหงื่อมาก ให้ดื่มเกลือแร่เสริม • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นอาหารที่มีแคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม เช่น ปลา นม ผักโขม ลูกเกด กล้วยหอม […]

สารพัดเหตุของ “ตะคริว” คุณเข้าข่ายข้อไหน?

Date ⭐️ สาเหตุของตะคริวมีมากมาย ทั้งจากด้านกายภาพและสุขภาพ ดูว่าข้อไหนใช่คุณเพื่อที่จะได้ป้องกันหรือรักษาได้ตรงเหตุ ⭐️ ด้านกายภาพ: • ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อน-หลัง ใช้งานหนัก เช่น ออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงเป็นเวลานานๆ ทำให้กล้ามเนื้อตึงเพราะเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนนั้นไม่เพียงพอจึงเกิดตะคริว• กล้ามเนื้อบาดเจ็บ ระหว่างเล่นกีฬา• นอน นั่ง หรือยืน ในท่าที่เดิมนาน ๆ ก็ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่สะดวก• ขาดการบริหารร่างกาย เอ็นและกล้ามเนื้อจึงไม่ได้ยืดหยุ่นบ่อย ๆ จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย• เซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ .⭐️ ด้านสุขภาพ :• เกิดจากโรคบางอย่าง เช่น โรคตับ หรือโรคไต• เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือยาราโลซิฟีน เป็นต้น• การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ• เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะโซเดียมและโพแทสเซียม หากมีอาการท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมาก จะทำให้เป็นตะคริวได้ง่ายขึ้น• มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ก็ทำให้เป็นตะคริวได้บ่อย• ตั้งครรภ์ก็เป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น เพราะระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ• ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตัน ๆ ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี.ปรึกษานักกายภาพบำบัดได้ฟรี […]

จริงหรือ? “ตะคริว” ขึ้นตอนกลางคืน เพราะ “น่องตึง” ตอนกลางวัน

Date 🛡 จริงหรือ? “ตะคริว” ขึ้นตอนกลางคืน เพราะ “น่องตึง” ตอนกลางวัน ⭐️ เป็นเรื่องจริง ! สังเกตง่ายๆ วันไหนออกกำลังกายเยอะ หรือเดินมาก คืนนั้นอาจเป็นตะคริวที่น่องหรือนิ้วเท้า เพราะกล้ามเนื้อน่อง ทำงานประสานงานกับเอ็นร้อยหวายและเอ็นใต้ฝ่าเท้าและนิ้วเท้าทั้งหมด เมื่อกล้ามเนื้อน่องถูกใช้งานหนักระหว่างวัน จึงมีความยึดตึง ทำให้ส่วนอื่นๆ ยึดตึงตามไปด้วย เหมือนการออกกำลังกายที่แนะนำให้ warm up และ cool down ก่อนและหลังเสมอเพื่อถนอมกล้ามเนื้อ หากขาดการยืดเหยียดที่พอเพียง กล้ามเนื้อก็จะตึงอยู่อย่างนั้น เวลาที่เราหลับปกติกล้ามเนื้อจะต้องคลายตัว แต่กลับเกร็งจนเกิดตะคริว เพราะกล้ามเนื้อยังทำงานซ้ำๆ จาก neuron function ระบบประสาทที่เกิดความเคยชินจึงเกิดการเกร็งเป็นตะคริวขึ้น .⭐️ วิธีแก้ตะคริว ปกติเมื่อเป็นตะคริวจะเป็นเพียง 1-2 นาที หรือไม่เกิน 5 นาที แต่ก็อันตรายหากกำลังว่ายน้ำหรือขับรถ ถ้าเป็นขณะนอนให้บรรเทาปวดด้วยการยืดกล้ามเนื้อขา โดยยืดขาให้ตรง กระดกปลายเท้าขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที ทำแบบนี้ 5-10 ครั้ง […]

“คอตกหมอน” ปวดทรมานเพราะ “ท่านอน” เป็นเหตุ

Date 🛡 “คอตกหมอน” ปวดทรมานเพราะ “ท่านอน” เป็นเหตุ ใครที่เคยตกหมอนจะรู้ว่าปวดคอแบบนี้ทำเอาน้ำตาไหลได้เหมือนกัน… สาเหตุเพราะศีรษะและลำคออยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานขณะนอน โดยเฉพาะท่านอนตะแคงที่ทำให้คอเอียง ร่วมกับใช้หมอนที่ไม่เหมาะสม เช่น หมอนแบนหรือสูงเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อคอตึงเกร็งและเกิดการอักเสบเฉียบพลัน (acute muscle strain) จึงปวดต้นคอรุนแรง คอแข็งคล้ายหุ่นยนต์ หันทางไหนก็ปวด และอาจทำให้กล้ามเนื้อบ่าและสะบักข้างเดียวกันตึงเกร็งตามไปด้วย เพราะร่างกายจะใช้กล้ามเนื้ออื่นมาทำงานแทนกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บอยู่. 3 วิธี บรรเทาอาการ “คอตกหมอน” ประคบเย็น 15-20 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง ระยะกล้ามเนื้อคออักเสบอย่าเพิ่งประคบร้อน เพราะความร้อนจะทำให้อักเสบมากขึ้น นวดกล้ามเนื้อคอเบาๆ อย่างนุ่มนวล วันละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ระวังอย่านวดแรงจะยิ่งอักเสบ ยืดกล้ามเนื้อคอเบาๆ ท่าบริหารเหมือนกับ Office syndrome คือ ก้มคอ หันหน้าไปด้านตรงข้ามกับข้างที่ปวด ใช้มือด้านตรงข้ามวางเหนือใบหู ค่อยๆ ดึงศีรษะลงมาเบาๆ ให้รู้สึกตึง ค้างไว้ 10 วินาที 3 […]

นั่งนานๆ “ปวดก้น” ชาลงขา ระวัง! “กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบจนหนีบเส้นประสาท”

Date 🛡 นั่งนานๆ “ปวดก้น” ชาลงขา ระวัง! “กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบจนหนีบเส้นประสาท” !! ⭐️ อาการ Piriformis Syndrome หรือ “กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบจนหนีบเส้นประสาท” อาจไม่คุ้นกันนัก แต่ถ้าบอกว่า “สลักเพชรจม” คนชอบนวดแผนไทยคงคุ้นกันดี .🔸 Piriformis Syndrome เป็นอาการปวดลึกๆ ที่แก้มก้น จนร้าวลงขา แถมอาการชาให้ด้วยในบางคน เกิดได้กับคนที่นั่งนานวันละ 7-8 ชั่วโมง หรือนั่งบนพื้นแข็งๆ ยืนนานๆ ออกกำลังกาย วิ่งมากเกินไป ยกของหนักหรือเคยมีกล้ามเนื้อสะโพกอักเสบมาก่อน.🔸 พิริฟอร์มิส เป็นกล้ามเนื้อมัดลึกสุดอยู่ที่ก้นใกล้กับสะโพก ทำหน้าที่รักษาสมดุลของสะโพก ช่วยให้ต้นขาเคลื่อนไหวไปยังทิศทางต่าง ๆ ถ้าตึงมากๆ แล้วอักเสบก็จะไปกดทับเส้นประสาทขนาดใหญ่ Sciatic Nerve ที่คอยส่งสัญญาณประสาทไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาทั้งสองข้าง จึงรู้สึกปวดร้าวและชาลงไปที่ต้นขา บางคนเป็นมานานจนมีอาการหนักขึ้น จากเดิมนั่งเป็นชั่วโมงถึงรู้สึกปวด ถ้าเป็นมากเข้านั่ง 5- 10 นาทีก็ปวดก้นและขาชาแล้ว ถ้าปล่อยให้เรื้อรังก็อาจส่งผลต่อการยืน เดิน การพยุงข้อสะโพกและเชิงกรานให้มั่นคง รวมถึงปัญหาแผ่นหลังด้วย.⭐️ รักษาฟิสิโอ…ขอแนะนำว่าอย่าทน […]

ปวดคอ Neck Pain ร้าวลงสะบักและแขน จากกระดูกคอเสื่อม !!!

ปวดคอ Neck Pain ร้าวลงสะบักและแขน จากกระดูกคอเสื่อม

Date 🛡 ปวดคอ ร้าวลงสะบักและแขนจากกระดูกคอเสื่อม !!! สาเหตุของการปวดคอที่พบได้ไม่น้อยมาจาก “หมอนรองกระดูกคอเสื่อม” “หมอนรองกระดูก” มีลักษณะนิ่มๆ หยุ่นๆ คั่นอยู่ระหว่างปล้องกระดูกคอ ทำหน้าที่รับน้ำหนักและให้ความยืดหยุ่น ช่วยการเคลื่อนไหวกระดูกคอให้สามารถก้ม เงยได้ เมื่อใช้ไปนาน ๆ อายุมากขึ้นบวกกับพฤติกรรมการใช้คอและหลังแบบผิดๆ มายาวนาน ก็ทำให้หมอนรองกระดูกคอเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่นและรับแรงกระแทกได้น้อยลง เกิดการอักเสบ หรือเนื้อของหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปทับเส้นประสาทนำมาซึ่งความปวดร้าวจากคอ ลงบ่า ไหล่ สะบักและแขน. อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อกระดูคอเสื่อม ?หมอนรองกระดูกคอที่เสื่อมจะมีความแข็งแรงในการยึดข้อกระดูกสันหลังลดลง เกิดความหลวมของข้อต่อ นานวันเข้าธรรมชาติของร่างกายจะสร้างหินปูน หรือกระดูกหรือสร้างเนื้อเยื่อรอบข้อต่อให้หนาตัวขึ้นเพื่อทำให้กระดูกคอมั่นคงขึ้น ซึ่งการหนาตัวของเนื้อเยื่อหรือกระดูกที่งอกขึ้นผิดที่อาจทำให้เกิดการกดทับไขสันหลังและเส้นประสาทได้ ทำให้ปวดคอเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ต่อเนื่อง เคลื่อนไหวคอได้ลดลง กล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ ปวดสะบัก อาจจะชาร้าวไปที่แขนและมือได้. การรักษาปวดคอจากหมอนรองกระดูกเสื่อม….หากรุนแรงจำเป็นต้องผ่าตัด แต่ก็สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการปรับพฤติกรรมท่าทางต่างๆ การบริหารกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ให้แข็งแรงและพบนักกายภาพบำบัดที่จะออกแบบท่าหรือวิธีออกกำลังให้สอดคล้องกับอาการปวดและสรีระของแต่ละคนเป็นดีที่สุด.ปรึกษานักกายภาพบำบัดได้ฟรี ติดต่อ📌 Line : @RaksaPhysio ☎️ Tel. : 062-705-1500.#raksaphysio #physio […]

“ปวดคอ”… Neck Pain ทำอย่างไรถึงจะหาย?

"ปวดคอ"Neck Pain... ทำอย่างไรถึงจะหาย?

Date 🛡 “ปวดคอ” Neck Pain… ทำอย่างไรถึงจะหาย?   “คอ” เป็นอวัยวะที่รับภาระหนักของร่างกาย เพราะต้องรองรับศีรษะที่หนักถึง 5 กก. และเคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา ยกเว้นตอนนอน อาการปวดคอจึงเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ปวดเมื่อยถึงขั้นปวดรุนแรงเรื้อรัง. สาเหตุที่ทำให้ปวดคอ ก็มาจากอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กล้ามเนื้อคอยึดตึงแข็งเกร็ง หรือจากอุบัติเหตุ จากโรคภัยและเสื่อมตามวัยก็ทำให้ปวดคอได้ เช่น ออฟฟิศซินโดรม สาเหตุสามัญที่พบทั่วไปในคนยุคนี้ ที่นั่งทำงานหรือเล่นเกมส์ ในท่าเดิมนาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อคอยึดเกร็งเรื้อรัง นั่งขับรถนาน หรือนั่งทำงานกับโต๊ะ เก้าอี้ที่ไม่ได้สัดส่วน อิริยาบถที่ผิดท่า เช่น นอนผิดท่า หนุนหมอนสูง ตกหมอน นอนคว่ำ สลัดคอบ่อย หนีบโทรศัพท์ นั่งหลังค่อม ยกของหนัก ฯลฯ อุบัติเหตุที่กระชากหรือทำให้คอสะบัดอย่างแรง เช่น รถชนท้าย เล่นกีฬา จากโรคภัยและความเสื่อมตามวัย เช่น กระดูงอก หมอนรองกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาท หรือไขสันหลัง โรครูมาตอยด์ ฯลฯ. ไม่อยากปวดคอ ต้องปรับท่าทาง …เรื่องที่คุณก็ทำได้ […]

ลาขาด “ปวดเรื้อรัง” ด้วย Shockwave

ลาขาด “ปวดเรื้อรัง” ด้วย Shockwave

Date 🛡 ลาขาด “ปวดเรื้อรัง” ด้วย Shockwave ️ ด้วยเทคโนโลยีคลื่นกระแทกของ Shockwave สามารถลงลึกถึงจุดปวดเรื้อรัง Trigger points ของกล้ามเนื้อมัดลึกและมัดตื้น รักษาเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ กระตุ้นให้เนื้อเยื่อซ่อมแซมตัวเอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มการหลั่งสารลดปวด… จึงช่วยรักษาที่ต้นเหตุแห่งปัญหาได้อย่างตรงจุด. Shockwave เหมาะกับใครบ้าง? รักษาฟิสิโอ ขอแนะนำ…ว่าเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัยที่มีอาการปวดจากกลุ่มความผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทั้งจากการใช้ชีวิตประจำวัน การเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปวดฝ่าเท้าจากโรครองช้ำ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังในจุดต่าง ๆ เช่น หลัง ศอก ต้นขา หน้าแข็ง ปวดเอ็นร้อยหวายอักเสบ ฯลฯ.แต่ก็มีข้อห้ามบำบัดด้วย shockwave ในกลุ่มที่… มีภาวะเลือดแข็งตัวช้า และใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด มีโรคเลือดจับตัวเป็นก้อน (Haemophillia) โรคเส้นเลือดอุดตัน หรือมีหลอดเลือดโป่งพอง มีเนื้องอก เป็นมะเร็ง ตั้งครรภ์ เด็กที่กำลังเติบโต (ไม่ใช้ Shockwave บริเวณที่ข้อต่อกระดูกที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่) ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ บริเวณที่มีการอักเสบของเส้นประสาท.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม🏢 […]

ข้อเท้าหลวม ภัยเงียบจากเท้าแพลงซ้ำๆ

ข้อเท้าหลวม

Date 🛡 ข้อเท้าหลวม ภัยเงียบจากเท้าแพลงซ้ำๆ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบางคนเท้าแพลงบ่อยๆ … จะว่าซุ่มซ่ามไม่ระวังเวลาเดิน หรือเล่นกีฬาก็ไม่ใช่!จริงๆ ก็เหมือนวังวน เท้าแพลงบ่อยเพราะข้อเท้าหลวม ข้อเท้าหลวมเพราะเท้าแพลงบ่อยนั่นเอง แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?เหตุที่ข้อเท้าแพลงซ้ำๆ ส่วนใหญ่เคยเกิดข้อเท้าพลิกอย่างรุนแรงมาก่อน จนทำให้เอ็นประคองข้อเท้าฉีกขาด และไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิมได้ อาจมาจากปล่อยไว้ไม่รักษา หรือรักษาไม่เหมาะสม ขาดการทำกายภาพกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า และบริหารการทรงตัวของข้อเท้าไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้เอ็นข้อเท้ายืด เกิดข้อเท้าหลวมตามมา. จะทราบได้อย่างไรว่าข้อหลวม ?. เวลาเดินรู้สึกว่าข้อเท้าไม่มั่นคง พร้อมจะพลิกได้ง่ายโดยเฉพาะบนพื้นขรุขระ รู้สึกไม่สบายข้อเท้าและบวมง่าย ปวดข้อเท้าง่ายเมื่อข้อเท้าหลวมไม่เพียงทำให้เดินพลิกจนเท้าแพลงบ่อย แต่จะทำให้ปวดเรื้อรัง และเกิดข้ออักเสบตามมา ถ้าเป็นมากอาจต้องผ่าตัดกระชับเอ็นข้อเท้า.แต่อีกทางหนึ่งก็สามารถเสริมความฟิตแอนด์เฟิร์มให้ข้อเท้าได้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น หมุนข้อเท้าในทุกทิศทาง ทำ 2-3 รอบ วันละ 3 ครั้ง นั่งเหยียดขาตรง ใช้ผ้า, Rubber Band หรือ Thera Band คล้องปลายเท้า ดึงผ้าหรือให้ข้อเท้ากระดกจนเอ็นร้อยหวายตึง ค้างไว้ 15-30 วินาที ทำ 5-10 ครั้ง […]

Raksa Physio รักษาฟิสิโอ

Come in stressed. Leave revitalized.​